วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิค และวิธีการสอน


รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิค และวิธีการสอน


ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 11 นวัตกรรม ดังนี้
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
                        1. การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
                        2. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
                        3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
                        4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
                        5. การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
                        6. การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
                        7. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)
                        8. การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
                        9. การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
                        10. การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
                        11. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
                       12. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value 
Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
                        13. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิด
ของทอร์แรนซ์

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา มีดังนี้
                        14. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
                        15. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
                        16. การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
                        17.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม มีดังนี้
                        18. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
                        19. การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
                        20. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
                        21. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
                        22. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
                        23. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
                        24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
                        25. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
                        26. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
                        27. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
                        28. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
                        29. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
                        30. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)
                        31. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์ มีดังนี้
                        32. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
                        33. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)
                        34. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
                        35. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
                        36. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
                        37. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)
        
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา มีดังนี้
                        38. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes 
and Withrow)
                        39. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา
                        40. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
                        41. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
                        42. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA
        
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ มีดังนี้
                        43. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
                        44. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)
                        45. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
                        46. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
                        47. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                        48. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
                        49. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)
                        50. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
                        51. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
                        52. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning 
Model : PCLM)
                        53. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
                        54. การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)
                        55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)

 นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาสมองและการคิด มีดังนี้
                        56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
                        57. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
                        58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
                        59. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
                        60. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีดังนี้
                        61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
                        62. การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
                        63. การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ มีดังนี้
                        64. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
                        65. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
                        66. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
                        67. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
                        68. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
                        69. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์ มีดังนี้
                        70. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
                        71. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
                        72. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
                        73. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
                        74. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
                        75. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
                        76. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ

นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีดังนี้
                        77. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
                        78. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
                        79. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
                        80. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก


วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542) ได้รวบรวมไว้ว่ามีรูปแบบดังนี้
                         1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
                         2. วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
                         3. วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing)
                         4. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
                         5.ารสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery)
                         6. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
                  7. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์ (Audio – visual Media)
                  8. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
                  9.   การสอนโดยใช้คำถาม
                10.    การสอนแบบมอนเตสซอรี่
                11.    การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงา
                12.    นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                13.    การเรียนการสอนแบบบูรณาการ


วราภรณ์  ศรีวิโรจน์  ได้รวบรวมเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
       1.  การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์กลางเรียน (Learning Center)
       2.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrating Method)
       3. การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เป็นคู่ (Learning Cell)
       4.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The use of Community Activities)
       5. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Group)
       6. การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ (Talents Unlimited)
       7.  การจัดการเรียนรู้แบบหน่วย (Unit Teaching Method)
       8. การจัดการเรียนรู้โดยเรียนจากของเล่น (Learning from Toy)
      9.  การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
   10. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)



สรุปรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคนิค และวิธีการสอน


                         จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ เทคนิคและวิธีสอน ที่ได้รวบรวมมีทั้งหมด 103 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวิธีการสอน รูปแบบ กระบวนการดำเนินการ และการนำไปใช้ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของเนื้อหา ความสนใจ สถานการณ์ และระดับวัยที่เหมาะสมต่อผู้เรียน 




ที่มา


ชัยวัฒน์   สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : 
                บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

วราภรณ์  ศรีวิโรจน์. http://edu.pbru.ac.th/e-media/08.pdf. [ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561.


วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ:คอมพิวเตอร์กราฟฟิค.

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning )


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
( Theory of Cooperative or Collaborative Learning )


ลักขณา  สริวัฒน์ (2557ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperrative Learning  Theory) ไว้ดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperrative Learning  Theory) การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นให้ครูใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ สำหรับเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำแนกเป็น 8 เรื่อง ได้แก่ ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือในการสอน 


สยุมพร  ศรีมุงคุณ (2555) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)ไว้ว่า  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว


ทิศนา แขมมณี  (2554) ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้ Johnson and Johnson (1994:31-32) กล่าวไว้ว่า ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1.ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
3.ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก้รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว


สรุปทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Learning )
            ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด ให้ความร่วมมือกันทั้งด้านความคิด การทำงาน และความรับผิดชอบ ร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งการดำเนินงานของกลุ่มจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี และกระบวนการทำงานที่ดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  มีทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ในส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและด้านคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกภายในกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนที่บกพร่องร่วมกัน


ที่มา

ทิศนา   แขมมณี. (2554)ศาสตร์การสอนกรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักขณา สริวัฒน์(2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สยุมพร  ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2561.

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism )


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
 ( Constructionism )


ทิศนา แขมมณี (2554) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ว่า     
ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget ) ผู้พัฒนา ทฤษฎีคือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert ) แนวความคิดของทฤษฎีคือ ( สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2542 : 1 – 2 ) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองนั่นเอง
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน เพเพอร์ทและคณะวิจัยแห่ง M.I.T ( บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ ในวชิราวุธวิทยาลัย , 2541 : 1 – 7 ) ได้ออกแบบวัสดุและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
            สำหรับการเรียนรู้ที่ดี สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งควรมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ
1. เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย การมีทางเลือกที่หลากหลายหรือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิดการทำและการเรียนรู้ต่อไป
2. เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกัน การสร้างสรรค์ผลงานและความรู้ รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
3. เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ จะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข


สยุมพร  ศรีมุงคุณ (2555) ได้รวบรวมทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ไว้ดังนี้แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน


สุรางค์ โคว้ตระกูล (2545) กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน


สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism )
            ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน  ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน ส่งเสริมเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลายๆด้านตามที่ผู้เรียนมีความชอบและสนใจในการเรียนวิชาต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความถนัด ความรู้ ความสามารถ ของผู้เรียนเป็นหลัก


ที่มา

ทิศนา  แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สยุมพร  ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272.  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561.

สุรางค์ โคว้ตระกูล.(2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.