ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
( Behaviorism )
สมชาย รัตนทองคำ (2556) ได้รวบรวม ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)ไว้ว่า การเรียนรู้ตามทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความเชื่อและแนวคิดพื้นฐานคือ
1) พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้น โดยการเรียนรู้ได้และสังเกตได้ 2) พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3) การเสริมแรง ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้นักจิตวิทยาที่ยึดถือทางพฤติกรรมนิยม
แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทคือ
1) respondent behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะเกิดการตอบสนอง ของพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ประเภทนี้เรียกว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวาง เงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning theory)
2) operant behavior หมายถึงพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์ แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอนและพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย operant behavior เรียกว่า operant conditioning theory ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรม นิยมนี้ ประกอบด้วย Pavlov, Watson, Thorndike, Guthrie, Skinner, ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะเน้นการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมซึ่งสามารถสังเกตได้ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมโยง เป็นหลัก
1) respondent behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะเกิดการตอบสนอง ของพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ประเภทนี้เรียกว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวาง เงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning theory)
2) operant behavior หมายถึงพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์ แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา (emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอนและพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย operant behavior เรียกว่า operant conditioning theory ซึ่งนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรม นิยมนี้ ประกอบด้วย Pavlov, Watson, Thorndike, Guthrie, Skinner, ซึ่งนักทฤษฎีกลุ่มนี้จะเน้นการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมซึ่งสามารถสังเกตได้ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมโยง เป็นหลัก
สุรางค์ โค้วตระกูล (2541) กล่าวไว้ว่า นักคิด
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ
ไม่ดีไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่าง ๆ
เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response)
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับ “พฤติกรรม”มาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
John B. Watson (1878-1958) ได้กล่าวไว้ว่าพฤติกรรม
ซึ่งเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้เชื่อว่าจะทราบ
ถึงเรื่องราวของจิตได้และยังเป็นการแสดงออกในรูปของการกระทำหรือพฤติกรรม
ซึ่งสังเกตเห็นได้โดยตรงจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือออาจใช้เครื่องมือวัดช่วยในการสังเกต
สรุปทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
( Behaviorism )
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (BEHAVIORISM) เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตภายนอกได้ และเน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุสาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ซึ่งเรียกสิ่งเร้า(Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่าการตอบสนองซึ่งก็คือพฤติกรรม
ที่มา
กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บำรุงสาส์น.
สุรางค์ โค้วตระกูล.(2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย รัตนทองคำ.(2556). http://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/3learn_th
56.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น