ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
( Mental Discipline )
สุรางค์ โค้วตระกูล (2544) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และหลักการสอนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่
20 และการประยุกต์สู่การสอน สามารถจัดแยกได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1.1
กลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental
Discipline) นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น
2 กลุ่มย่อย คือ
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline ) นักคิด คือ
เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง
1.1
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว การกระทำใด ๆ
ของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (Bad-active)
1.2
มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
1.3 สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ
ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ได้
1.4 การฝึกสมอง
หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
1.5 การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด
ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก
และคัมภีร์ไบ-เบิล เป็นต้น
2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อ
2.1 พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์
มิใช่พระเจ้าบันดาลมา
2.2
มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
2.3
มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
2.4 มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่เกิด
แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
ทิศนา แขมมณี (2550) ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 และหลักการจัดการศึกษาและการสอนไว้ดังนี้1.ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา
(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ
ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ
ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2) มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3) สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties)
ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4) การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5) การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา
ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด
เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
2) การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับ
ลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
3) การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา
ภาษาลาตินและภาษากรีก จะช่วยฝึกฝนสมองให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
4) การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ใบเบิลและยึดถือในพระเจ้า
จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี
2. กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic
Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato)
และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ
ดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1) พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์
มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2) มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
(neutral - active)
3) มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน
หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4) มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
2) การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ เคี่ยวเข็ญ
แต่ควรใช้เหตุผลเพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล
3) การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส (Socratic Method) คือการใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด
เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช้คำถามฟื้นความจำของผู้เรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน
เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองไว้ดังนี้
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน
ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน
ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่
เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty)
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
( Mental Discipline)
เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งความต่างกันเหล่านี้ สามารถที่ฝึกและพัฒนาให้เก่งและเชี่ยวชาญขึ้นได้โดยการฝึกฝนตนเอง ไม่ใช่การบังคับให้ทำ เพราะมนุษย์ทุกคนมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้ก็จะไม่แสดงออกมา ถ้าหากว่าบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นจะส่งผลให้บุคคลมีจิตและสมองที่แข็งแกร่งมากขึ้น อีกทั้งการฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งความต่างกันเหล่านี้ สามารถที่ฝึกและพัฒนาให้เก่งและเชี่ยวชาญขึ้นได้โดยการฝึกฝนตนเอง ไม่ใช่การบังคับให้ทำ เพราะมนุษย์ทุกคนมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้ก็จะไม่แสดงออกมา ถ้าหากว่าบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นจะส่งผลให้บุคคลมีจิตและสมองที่แข็งแกร่งมากขึ้น อีกทั้งการฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
ที่มา
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์สหบัณฑิต.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (2553). http://surinx.blogspot.com/.[ออนไลน์]
เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น