ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
( Constructivism )
อัชรา เอิบสุขสิริ.
(2549). กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
(process of knowledge construction)เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
เติมศักดิ์ คถวณิช. (2549). ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์
มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean
Piagetซึ่งเสนอว่า
การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น
สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ
เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวConstructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
(cognitive psychology)มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
(cognitive psychology)มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวConstructivismคือผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct)ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมโดยใช้กระบวนการทางปัญญา (cognitive apparatus) ของตน
ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ
การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ
โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด
ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง
ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
ทิศนา แขมมณี. (2554). กล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เพียเจต์อธิบายว่า
พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา
ส่วนวีก็อทกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้
มีความเห็นว่า โลกนี้จะมีอยู่จริง และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง
แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น มิได้มีอยู่ในตัวของมัน
สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น
และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย
สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism )
ทฤษฏีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึง เป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction) และถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจากinstruction ไปเป็น construction คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้ ไปเป็นการให้ผู้เรียนสร้างความรู้
ที่มา
เติมศักดิ์ คถวณิช.(2549). เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ทิศนา แขมมณี.(2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อัชรา เอิบสุขสิริ.
(2549). เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น